บทความเรื่องการเปรียบเทียบบทคะนึงถึงนางอันเป็นที่รักระหว่างการเดินทาง
(ชมดง)
ระหว่างบทละครเรื่อง
(รามเกียรติ์) ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุโลกมหาราช กับ บทละครเรื่อง (อิเหนา)
ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ว่ามีความคล้ายในการใช้โวหารที่ใช้ในการประพันธ์มากน้อยเพียงใด
อนึ่ง การเลียนแบบโวหารของกวีในอดีตซึ่งถือว่าเป็นโวหารชั้นครู
นั้นจะเห็นได้จากวรรณคดีเรื่อง
บทละครเรื่องรามเกียรติ์
กับ บทละครเรื่องอิเหนาที่ข้าพเจ้าจะได้เปรียบเทียบให้เป็นข้อสังเกตดังต่อไปนี้
บทชมดงในบทละครเรื่องรามเกียรติ์
ฯ ๒ คำ ฯ เพลง
เดินทางในหว่างบรรพต เลี้ยวลดตามเชิงเขาใหญ่
เห็นฝูงปักษาคณาใน อาลัยถึงองค์วนิดา
นกแก้วจับกิ่งแก้วพลอด เหมือนเยาวยอดเสน่หา
สาลิกาจับกรรณิกา จำนรรจาเหมือนเจ้าพาที
แขกเต้าจับเต่าร้างร้อง เหมือนพี่ร้างห่างห้องมารศรี
เบญจวรรณจับวัลย์มาลี เหมือนวันเจ้าวอนพี่ให้ตามกวาง
นกยูงจับยูงโหยหวน เหมือนพี่โหยหานวลผู้แนบข้าง
นกหว้าจับว่าริมทาง เหมือนว่านางไม่เชื่อวาจา
นางนวลจับนางนวลนอน เหมือนนวลเนื้อดวงสมรเสน่หา
จากพรากจับจากแล้วร่อนรา เหมือนแก้วกับพี่ตาจากกัน
นางลางจับลางลิงร้อง เหมือนลางเมื่อพลัดน้องพี่โศกศัลย์
ครวญพลางพระเสด็จจรจรัล ทรงธรรมสะอื้นโศกี
รามเกียรติ์เล่ม๒
(๒๕๔๐. น. ๘ - ๙).
อันเป็นบทที่พระรามเข้าเดินป้าเพื่อตามหานางสีดาที่ถูกทศกัณฐ์ลักตัวไปจะเห็นได้ว่าเป็นบทชมดงแล้วเปรียบธรรมชาติที่กำลังชมกับนางสีดาอันเป็นที่รัก
มาเปรียบเทียบกับบทละครเรื่องอิเหนา
บทชมดงในบทละครเรื่องอิเหนา
ฯ ๔ คำ ฯ
ว่าพลางทางชมคณานก โผนผกจับไม้อึงมี่
เบญจวรรรจับวัลย์ชาลี เหมือนวันที่ไกลสามสุดามา
นางนวลจับนางนวลนอน เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหลา
จากพรากจับจากจำนรรจา เหมือนจากนางสการวาตี
แขกเต้าจับเต่าร้างร้อง เหมือนร้างห้องมาหยารัศมี
นกแก้วจับแก้วพาที เหมือนแก้วพี่ทั้งสามสั่งความมา
ตระเวนไพรร่อนร้องตระเวนไพร เหมือนเวรใดให้นิราศเสนหา
เค้าโมงจับโมงอยู่เอกา เหมือนพี่นับโมงมาเมื่อไกลนาง
คับแคจับแคสันโดดเดี่ยว เหมือนเปล่าเปลี่ยวคับใจในไพรกว้าง
ชมวิหกนกไม้ไปตามทาง คะนึงนางพรางรีบโยธี ฯ
อิเหนา
(๒๕๔๖. น. ๒๖๔ – ๒๖๕).
จะเห็นได้ว่าจากบทละครทั้งสองเรื่องที่ยกมาไว้
ณ ข้างต้นนั้นมีความคล้ายคลึงกันทั้งทางด้านการเปรียบ และการใช้คำ มีการใช้ นกแก้ว
นกแขกเต้า นกเบญจวรรณ นกนางนวล และนกจากพราก ที่เหมือนกัน
นอกจากนี้ยังใช้การเปรียบเหมือน(อุปมาโวหาร) โดยใช้คำว่าเหมือน ในต้นวรรคที่ ๒ และ
๔ ในหลาย ๆ วรรค
ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าการที่กวีใช้โวหารและคำที่คล้ายคลึงกันในการแต่คำประพันธ์นั้น
เป็นเพราะเห็นว่า กวีที่แต่งมาก่อนนั้นมีสำนวนโวหารที่ดีควรแก่การนำมาปรับใช้ในงานประพันธ์ของตนเองเพื่อให้เกิดความไพเราะอย่างที่กวีได้เคยอ่านมาในงานที่เคยศึกษามาก่อนหน้านี้ หรือที่เรียกว่างานครู
อ้างอิง
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบาทสมเด็จ. (๒๕๔๐). บทละครเรื่องรามเกียรติ์. พิมพ์ครั้งที่๙ กรุงเทพมหานคร. :กรมศิลปากร
พุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จ. (๒๕๔๖). บทละครเรื่องอิเหนา. พิมพ์ครั้งที่๑๕ กรุงเทพมหานคร.
สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร
เธียรดนัย วิเทศพงษ์ (อาจารย์ดำ..)
ครุฯภาษาไทย
มบส. ๒๙/๖/๖๑
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น