วิจักษณ์ วิจารณ์ ตีความ..อุปาทวาทศมาส
การที่ข้าพเจ้าทำเรื่องการ
วิจักษณ์ วิจารณ์ ตีความ อุปาทวทศมาสนั้น เนื่องด้วยข้าพเจ้าเห็นว่าวรรณคดีเรื่องนี้เป็นวรรณคดีไทยโบราณที่มีคุณค่าทางวรรณศิลป์
และความงดงามทางภาษา เป็นอย่างมาก แต่เพราะด้วยระยะเวลาที่ห่างกัน ระหว่างยุคสมัยของผู้เขียน
และผู้อ่าน จึงยากที่จะศึกษาวรรณคดีเรื่องนี้ ข้าพเจ้าจึงเห็นควรที่จะทำการ
วิจักษณ์ วิจารณ์ และ ตีความไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา
และค้นคว้าของผู้ใคร่รู้และจะได้สะดวกแก่การศึกษาวรรณคดีเรื่องนี้ต่อไปในอนาคต
ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
(ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖) อธิบายคำว่า วิจักษณ์ หรือ วิจักขณ์
ไว้ว่า “ที่รู้แจ้ง, ที่เห็นแจ้ง, ฉลาด, มีสติปัญญา,
เชี่ยวชาญ, ชำนาญ.” และคำว่า วิจักษ์ หมายถึง
ความเข้าใจ และตระหนักในคุณค่าของศิลปกรรมและวรรณกรรม, ค่านิยม, ความซาบซึ้ง,
เช่น วรรณคดีวิจักษณ์
เปลื่อง ณ นคร (๒๕๐๙)
ได้ให้ความหมายไว้ว่า วรรณคดีวิจักษณ์เป็นศัพท์บัญญัติตั้งขึ้นเพื่อเทียบคำ Literary Appreciation คำว่าวิจักษณ์ แปลว่า รู้แจ้ง
เห็นแจ้ง และเข้าใจ รูปคำนี้เราเคยใช้คำว่าวิจักษ์ แปลว่า ชัดเจน แจ่งแจ้ง แน่นอน
ส่วนคำว่า Appreciation มาจากศัพท์ละตินว่า appretaire แปลว่าการกำหนดราคาหรือคุณค่า
สรุปได้ว่า วรรณคดีวิจักษณ์ คือ การเข้าถึงวรรณคดี คือ
การรู้สึกทางอารมณ์และเข้าใจทางปัญญาว่าวรรณคดีนั้นดีอย่างไร
รัณจวน
อินทรคำแหง กล่าวว่า
“การวิจารณ์คือการพิจารณาเพื่อดูว่ามีข้อดีข้อเด่นอะไรบ้าง
ข้อบกพร่องอะไรบ้าง แล้วนำมาบอกให้ผู้อ่านได้ทราบข้อเสียและข้อดีนั้น
อาจบอกเป็นคำพูด หรือเป็นคำเขียนก็ได้
กิตติยา รัศมีแจ่ม ใด้ให้ความหมายของการตีความไว้ว่า
การอ่านตีความนั้นเป็นศิลปะการอ่านขั้นสูง
ที่แสดงความสามารถของผู้อ่านในการเข้าใจ เนื้อหา สาระ เจตนา
และน้ำเสียงของผู้เขียนที่ปรากฏในงานเขียน ทั้งยังสามารถแสดงความคิดเห็นสืบเนื่องเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านนั้นอย่างคมคายลึกซึ้ง
ระดับความเข้าใจของการอ่านตีความนั้นอาจแสดงออกด้วยพฤติกรรม ๓ ประการคือ ๑.
การแปลความ ๒. การตีความ ๓. การขยายความ
ในบทความคัดสรรทางภาษาและวรรณคดีไทยของ ศาสตราจารย์ ดร. ชลดา
เรืองรักษ์ลิขิต และบทสังเคราะห์ผลงานวิจัย ที่สังเคราะห์โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร. สายวรุณ สุนทโรทร ได้สังเคราะห์ไว้ว่า
ทวาทศมาสโคลงดั้น
ผู้วิจัยพิจารณาคำที่ผู้แต่งใช้ในบทประพันธ์ที่ว่า ภรรดา และ พระพี่
ผู้แต่งน่าจะเป็นบุคคลชั้นสูง จึงได้สันนิษานว่าคือพระเยาวราช
พระโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งเป็นผู้รอบรู้ด้าน อักษรศาสตร์ ลัทธิธรรมเนียม
และขนบประเพณีต่าง ๆ โดยเฉพาะราชพิธี ทั้งยังทรงมีความรู้เกี่ยวกับศาสนาพุทธ
ศาสนาพราหม์ แตกฉานเรื่องชาดก มหาภารตะ และ รามยณะ
ผู้วิจัยน่าจะความเห็นคล้อยตามพระบริหารเทพธานี ซึ่งมีความเห็นว่าผู้แต้งทวาทศมาสโคลงดั้นน่าจะเป็นองค์เดียวกับที่แต่งเรื่อง
ยวนพ่ายโคลงดั้น เช่นกัน ส่วนกวีสามคนคือ ขุนพรหมมนตรี ขุนศรีกวีราช และขุนสามประเสริฐ
น่าจะได้รับเกียรติ์ให้เป็นผู้ตรวจแก้ไขพระนิพนธ์
วรรณคดีเรื่องนี้มิได้ระบุยุคสมัยที่แต่ง
ผู้วิจัยได้พิจารณาจากการกล่าวถึงเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
อย่างไรก็ตามไม่อาจระบุปี พ.ศ. ได้อย่างชัดเจนนัก
จึงสันนิษฐานว่าวรรณคดีเรื่องนี้แต่งระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๐๗ – ๒๐๓๑
เพื่อถวายสมเด็จพระบรมราชา
โดยมีเนื้อหาหลักล่าวพรรณนาถึงหญิงคนรักรำพันถึงความสุขที่เคยได้อยู่ด้วยกันแต่ต้องมาพลัดพลากจากกัน
จัดเป็นวรรณคดีนิราศที่แปลกกว่าเรื่องอื่นเพราะกวีคร่ำครวญผ่านวันเวลาที่เคลื่อนไปตามฤดูกาลที่หมุนเวียน
เมื่อกวีพบเห็นสิ่งใดก็จะนำมาโยงสิ่งนั้นมารำพันความรักและความอาลัยถึงนางผู้เป็นที่รักได้อย่างแยบยล
และยังแสดงให้เห็นว่าธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างมีอารมณ์ทุกข์ โศกร่วมไปกับกวีด้วย
กวีเริ่มต้นคำประพันธ์ด้วยบทนมัสการเทพเจ้าในศาสนาฮินดู
และกล่าวสรรเสริญสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ซึ่งในโคลงตอนท้ายก็ได้กล่าวเฉลิมพระเกียรติไว้ด้วย
การแต่งคำประพันธ์เรื่องนี้
กวีใช้โคลงสี่ดั้นวิวิธมาลีมากถึง ๒๔๐ บท และโคลงดั้นบาทกุญชร ๑๙ บท
และลงท้ายด้วยโคลงสองสุภาพในตอนจบ มีข้อที่หน้าสังเกตว่า โคลงดั้นในวรรณคดีเรื่องนี้
จำนวนหนึ่งใช้คำลงท้ายมีลักษณะโน้มเอียงไปทางโคลงสี่สุภาพ ผู้วิจัยยังได้วิเคราะห็การใช้กลุ่มคำที่ใช้ซ้ำ
ๆ จนเห็นเป็นลักษณะเด่นของกวี แสดงถึงความสามารถด้านการประพันธ์ที่โดดเด่นและมีลักษณะเฉพาะตัว
เช่น ใช้คำว่า เฟ็ดโพยม ในหน้า ๖๙๔, ๖๙๙, ๗๐๕ และพรั่นกว้า ในหน้า ๖๙๓, ๗๐๓, ๗๐๔, ๗๑๕ และ ๗๒๓ เป็นต้น
เมื่อพิจารณา การใช้คำและสำนวนโวหารจะเห็นว่า กวีเป็นผู้มีความรอบรู้คำโบราณ
ซึ่งเป็นกลุ่มคำเดียวกับที่ปรากฏในลิลิตโองการแช่งน้ำ มหาชาติคำหลวง
และยวนพ่ายโคลงดั่นรวมทั้งมีการใช้คำสันสกฤตมากกว่าคำบาลีและคำเขมร
แต่ก็เป็นคำที่พบในวรรณคดีเรื่องที่กล่าวมาแล้วด้วยเช่นกัน
กวียังนิยมสร้างศัพท์ใหม่และการหลากคำ
ดังที่มีคำเรียกนางผู้เป็นที่รักอย่างหลากหลาย อาทิ สมร ลำเถาสมร อนุช กัลยางคนิพาล
กานดาวลีบุษย์ เป็นต้น ความเปรียบที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นภาพพจน์เกินจริงเพื่อเน้นอารมณ์ความรู้สึก
กวียังได้นำความเชื่อเรื่องสิ้นกัลป์ อันเป็นความเชื่อเรื่องการสร้างโลก
และโลกถูกทำลายไป
ในเรื่องยังได้กล่าวถึงความเชื่อดั่งเดิมผสมผสานกับความเชื่อทางพุทธศาสนา
และศาสนาฮินดู
(สายวรุณ สุนทโรทก, ๒๕๖๐, น. ๗๒ – ๗๓ )
โคลงทวาทศมาส
อนึ่งยังที่โคลงนิราศอีกหนึ่งที่จัดไว้ในสมัยพระนารยณ์มหาราช
ตามที่ปรากฏอยู่ในตำราประวัติศาสตร์ทั่วไป คือ โคลงทวาทศมาส
คำว่า ทวา = สอง
คำว่า ทศ = สิบ
คำว่า มาส = เดือน
ทวทศมาส แปลโดยศัพท์ว่า
๑๒ เดือน
โดยเนื้อความเป็นบทคร่ำครวญถึงคนรักของตนตลอดเวลา ๑- เดือน
กล่าวได้ว่าทวาทศมาสเป็นวรรณคดีไม่มีประวัติ ไม่ปรากฏสมัยที่แต่ง
และแม้จะแจ้งชื่อผู้แต่งไว้ท้ายเรื่อง
แต่ก็ไม่อาจทำให้เข้าใจได้ชัดเจนนักเพราะชื่อเหล่านั้นเป็นชื่อในทำเนียบบรรดาศักดิ์ข้าราชการ
อาจเป็นคนในรัชกาลใดก็ได้จึงยังเป็นที่ฉงนกันอยู่จนบัดนี้ว่าแต่งในสมัยใด
โคลงที่แสดงชื่อผู้แต่งมีดังนี้
การกลอนนี้ตั้งอาทิ กวี หนึ่งรา
เยาวราชสามนต์ไตร แผ่นหล้า
ขุนพรหมมนตรีศรี กวีราช
สารประเสริฐฦาช้า ช่วยแกล้งเกลากลอน
อาศัยโคลงบทนี้ทำให้เป็นที่เข้าใจว่าผู้แต่ง
คือ พระเยาวราชและมี ขุนพรหมมนตรี และขุนประเสิรฐ์ เป็นผู้ช่วยขัดเกลาสำนวน
วรรณคดีชั้นหลังที่กล่าวถึงทวาทศมาส เช่น พระยาตรังค์ ฯ และนายนารินทร์ธิเบศร์
ก็กล่าวว่ามีผู้แต่ง ๓ ท่าน
โคลงทวาทศมาสแต่งเป็นโคลงดั้นวิวิธมาลี
ขึ้นต้นด้วยร่ายดั้น ๑ บท โดยโคลงอีก ๒๕๘ บท
และจบด้วยร่ายดั้นสั้น ๆ อีก ๑ บท จึงรวมทั้งสิ้นเป็น ๒๖๐ บท
เนื้อเรื่องขึ้นต้นด้วยประณามบทหรือบทไหว้
กล่าวชมความงามของนางที่รักเปรียบเทียบความรักของตนตามเรื่องชาดก
และพรรณนาเรียงเดือนไปแต่ละเดือนจบครบรอบปี ตั้งแต่เดือน ๕ ถึงเดือน ๔
กล่าวถึงพิธีต่าง ๆ ที่ปฏิบัติกันระหว่างเดือนนั้น ๆ
คร่ำครวญถึงนางที่รักของตนประกอบไปด้วยทุกเดือนทั้ง ๑๒ เดือน
ลักษณะการแต่งที่เป็นโคลงดั้นก็ดีทำให้เข้าใจว่าเป็นวรรณคดีเก่าก่อนสมัยพระนารายณ์ประมาณ
๒๐๐ ปี เช่นเดียวกับกำสรวล พิเคราะห์ดูตามชื่อผู้แต่งในบาทสองของโคลง คำว่า
ไตรแผ่นหล้า
อาจหมายถึงพระบรมไตรโลกนาถซึ่งมีพระเยาวราชปกครองกรุงศรีอยุธยาระหว่างที่พระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นไปประทับอยู่ที่พิษณุโลก
เพราะฉะนั้น พระเยาวราชผู้แต่งนั้น อาจเป็นพระบรมราชาที่ ๓ (สามนต์ = ใกล้เคียงกันมีอาณาเขตอยู่ใกล้กัน)
ซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ต่อมาก็เป็นได้
โคลงทวาทศมาสนี้เป็นที่นิยมแต่งตามกันมากในสมัยต่อมาโดยเฉพาะกระบวนการพรรณนาแสดงความรักความอาลัย
การเปรียบเทียบกับคู่พระนางในอดีตนิทาน (กุหลาบ มัลลิกะมาส. ๒๕๒๕. น. ๙๐-๙๑)
จากข้อมูลทั้งหมดที่ข้าพเจ้าได้ศึกษาไว้ ณ
ข้างต้นข้าพเจ้าได้เห็นว่าเป็นข้อมูลที่มีประโยน์ในการศึกษาโคลงอุปาทวทศมาสเป็นอย่างยิ่ง
หากแต่จะให้ข้าพเจ้าตีความวรรณคดีเก่าเรื่องนี้แล้ว ข้าพเจ้าก็เห็นว่าเป็นเรื่องที่ยากแก่การตีความ
เพราะด้วยขนบวรรณคดี ที่เป็นขนบววรรณคดีโบราณแล้ว
ยังมีเรื่องของภาษาที่เป็นภาษาที่ใช้ในสมัยอยุธยา
จึงทำให้ยากแก่การตีความในเบื่องลึก ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีผู้วิจัย
และคณะวิจัยที่กำลังศึกษาหาต้นตอและตีความวรรณคดีเรื่องนี้อย่างไม่สิ้นสุด
เอกสารอ้างอิง
ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๖).
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. ๒๕๕๖ กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
เปลื่อง ณ นคร. (มปป.). พจนานุกรม เปลื่อง ณ นคร สำนักพิมพ์วัฒนพานิช
จำกัด.
สายวรุณ สุนทโรทก. (๒๕๖๐). วรรณคดีวิจักษณ์. (พิมพ์ครั้งที่ ๒)
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สายวรุณ สุนทโรทก และคณะ.
(๒๕๖๐). ปรีชญมณี บทความคัดสรรทางภาษาและวรรณคดีไทย
ของศาสตราจารย์ ดร.
ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต
และบทสังเคราะห์ผลงานวิจัย. ภาควิชาภาษาไทย
คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุหลาบ มัลลิกะมาส. (๒๕๕๙). วรรณคดีวิจารณ์. (พิมพ์ครั้งที่ ๑๘).
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
กุหลาบ มัลลิกะมาส. (๒๕๒๕). ความรู้ทั่วไปทางวรรณคดีไทย.
(พิมพ์ครั้งที่ ๖).
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
กิตติยา รัศมีแจ่ม. (๒๕๕๖).
เอกสารประกอบการสอนรายวิชาอ่านตีความวรรณกรรมไทย.
อาจารย์ดำ..
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น