เนื้อหาของพระอภัยมณีได้รับอิทธิพลความคิดมาจากวรรณคดีไทย
หลายเรื่อง
เรื่องพระอภัยมณียังมีกลิ่นอายของเรื่องไทย
ทำให้ต้องใจคนอ่านคนฟังที่ยังติดในในวรรณคดีไทยแบบดั้งเดิมอยู่
บางแต่มีเหตุการณ์ในเรื่องพระอภัยมณีคล้ายกับเหตุการณ์ที่มีอยู่ในเรื่องลิลิตพระลอ
อิเหนา กากี และ ปทกุสลมาณวชาดก
โดยในตอนที่ ศรีสุวรรณพบรักกับนางเกษราในอุทยานเหมือนพระลอพอพระเพื่อนพระแพงในสวนขวัญในเรื่องลิลิตพระลอ
พระอภัยมณีแต่งตัวเป็นผู้หญิงปลอมปนไปกับหมู่นางกำนัลของนางละเวงเข้าไปอยู่ที่ท้ายรถทรงของนางละเวงโดยที่ไม่มีใครผิดสังเกตนั้นน่าจะได้ที่มาจากเรื่องลิลิตพระลอ
ตอนพระลอและนายแก้วนายขวัญปลอมตัวปะปนเข้าไปกับหมู่นางกำนัลในขบวนที่พระเพื่อนพระแพงเสด็จกลับจากชมสวนไปยังตำหนักที่ประทับในเมืองสรอง
เจ้าละมานหลงรูปวาดนางละเวงคล้ายกับวิหยาสกำหลงรูปนางบุษบาในเรื่องอิเหนา
พระอภัยมณีใช้สินสมุทรเป็นพ่อสื่อให้พระองค์กับนางสุวรรณมาลี
คล้ายกับอิเหนาใช้สียะตราเป็นสื่อรักให้พระองค์กับนางบุษบาในเรื่องอิเหนา
พระอภัยมณีให้ลอยแพเจ้าละมานเป็นการทำโทษ คล้ายกับท้าวพรหมทัตให้ลอยแพกากี
นางผีเสื้อสมุทรจับพระอภัยมณีมาเป็นสามีและขังพระอภัยมณีไว้ในถ้ำโดยเอาหินปิดปากถ้ำไว้
ต่อมา
สินสมุทรดันหินเป็ดปากถ้ำออกและพาพระอภัยมณีผู้เป็นบิดาหนีออกจากนางผีเสื้อสมุทร
คล้ายกับเหตุการณ์ในเรื่อง ปทกุสลมาณวชาดก ซึ่งเป็นชาดกเรื่องหนึ่งในนิบาตชาดก ในชาดกเรื่องนี้กล่าวถึงนางยักขิณีหน้าม้าที่จับพราหมณ์หนุ่มรูปงามมาเป็นสามีโดยเอาหินปิดปากถ้ำไว้
ต่อมาบุตรชายของนางที่เกิดจากพราหมณ์หนุ่มนี้ได้ผลักหินปิดปากถ้ำออกและพาบิดาหนีไปจากมารดาได้สำเร็จ
นอกเหนือจากนี้ในเรื่องพระอภัยมณีกล่าวถึงบางเรื่องที่มีอยู่ในวรรณคดีโบราณของไทย
เช่น ข้าวเจ้าที่งอกออกรวงเป็นข้าวสารที่สุนทรภู่เล่าว่ามีอยู่ในเกาะแก้วพิศดารก่อนท้าวสิลราชผู้เป็นบิดาของนางสุวรรณมาลีจะพานางสุวรรรมาลีเดินมางออกจากเกาะแก้วพิศดารได้ขอข้าวชนิดนี้กับพระฤๅษีแห่งเกาะแก้วพิศดารเพื่อเป็นเสบียงระหว่าเดินทาง
ข้าวชนิดนี้มีกล่าวไว้ในเรื่องไตรภูมิกถาซึ่งเป็นวรรณคดีเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งในสมัยสุโขทัย
มีชื่อเรียกว่าสัญชาตสาลี
และยังมีเรื่องอื่น
ๆ อีกที่จะได้นำมาเปรียบเทียบกันในภายหลัง
ปรีชญมณี บทความคัดสรรทางภาษาและวรรณคดีไทยของศาสตราจารย์ ดร. ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต และบทสังเคราะห์ผลงานวิจัย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น