ในสมุทรโฆษคำฉันท์นั้น
ได้ปรากฏคำว่า “สุรสัตถาดี” อันน่าจะเป็นคำเรียกที่หมายถึง โครงเรื่อง แบบคร่าว ๆ
ที่กวีได้วางไว้ โดยกล่าวกันว่ากวีตั้งใจแต่งเพื่อให้เป็นบทแสดงหนังใหญ่
แม้จะมีกลวิธีนี้มาแล้วในวรรณคดีไทยเรื่องอื่นที่แต่งขึ้นก่อนเรื่องสมุทรโฆษคำฉันท์
แต่ก็มีลักษณะ
บางประการที่แตกต่างกันออกไป
อันจะได้กล่าวต่อไป
ความหมายและที่มาของคำว่า
“สุรสัตถาดี”
กุสุมา
รักษมณี
อธิบายความหมายของคำนี้ไว้ในคราวที่ได้มานำการเสวนาเรื่องความหมายของคำต่าง ๆ
ที่ใช้ในการประพันธ์ไทยซึ่งศูนย์วิจัยภาษาและวรรณคดีไทย คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยกล่าวว่า “สูตฺรสฺถาน” หมายถึง
ส่วนที่อยู่ในตอนต้นเรื่อง มีไว้สำหรับช่วยจำ และได้ยกตัวอย่างตำราแพทย์ว่ามีอยู่
๕ บท บทแรกมีชื่อเรียกว่า “สูตฺรสฺถาน” ในตำราแพทย์มีเนื้อหากล่าวถึงเรื่องวิธีรักษาโรคต่าง
ๆ และกล่าวถึงยาที่ใช้ในการรักษาโรค
เนื้อหาส่วนนี้เป็นความรู้เบื่องต้นของการรักษาโรคซึ่งเรียกได้ว่าเป็นความนำย่อ ๆ (Introductory
Summary) ของเรื่องทั้งหมดได้
“สุรสัตถาดี”
เป็นคำที่พบในวรรณคดีเรื่องสมุทรโฆษคำฉันท์เฉพาะส่วนที่แต่งในสมัยอยุธยาเท่านั้น
พบหลังจากผู้แต่งสมัยอยุธยาเล่าเรื่องย่อของเหตุการณ์สำคัญ ๆ ในสมัยอยุธยาเท่านั้น
(กรมศิลปากร
๒๕๓๐ :
๑๑๖) ดังนี้
๏นี้คือสุรสัตถาดี แถลงยศพระศรี
สมุทรโฆษบุราณ
เมื่อพิจารณาตามรูปคำแล้วก็จะพบว่า
คำว่า “สุรสัตถาดี” นั้นประกอบด้วยคำ ๓ คำ คือคำว่า “สุร” “สัตถา” และคำว่า “ดี”
คำว่า “สุร” แปลว่า นักรบ ผู้หาญกล้า
พระอาทิตย์ เทวดา ทิพย์ (ราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๕๖
:
๑๒๔๖) คำว่า “สัตถา” หมายถึงครู หรือผู้สอน (ราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๕๖ : ๑๒๐๔)
คำว่า “ดี” มีความหมายว่ามีลักษณะที่น่าปรารถนา
น่าพอใจ เมื่อนำมารวมเข้าด้วยกันแล้ว
ชลดา
เรืองรักษ์ลิขิต ได้ให้ความหมายของคำว่า “สุรสัตถาดี” ไว้ว่า ผู้สอนที่กล้าและดี
เมื่อศึกษาคำต่าง ๆ
ในวรรณคดีไทยที่ออกเสียงคล้ายคลึงกับคำว่า “สุรสัตถาดี” พบว่ามีคำว่า “สุตรสถานี”
ในวรรณคดีไทยเรื่อง ลิลิตยวนพ่ายโคลงดั้น
ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต
ได้ให้ความหมายของคำว่า “สุตรสถานี” ในบทความเรื่อง “สุตรสถานี”
ในบทละครเรื่องอิเหนา : การสืบทอดและการพัฒนาขนบวรรณคดีไทย
(๒๕๔๒ : ๒๒ - ๒๓)
คำว่า “สูตร” มาจากภาษาสันสกฤตว่า “สูตฺร”
ซึ่งมีหลายความหมาย ความหมายที่เกี่ยวข้องกับลักษณะที่พบในยวนพ่ายโคลงดั้น คือ
เค้าโครง โครงเรื่อง โครงร่าง
คำว่า “สถานี” มาจากภาษาสันสกฤตว่า “สฺถานินฺ”
ซึ่งมีหลายความหมายเช่นกัน
ความหมายที่เกี่ยวข้องกับลักษณะที่พบในยวนพ่ายโคลงดั้น คือ ต้นแบบหยาบ ๆ
ดังนั้น ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต (๒๕๔๒ :
๒๘) จึงสรุปความหมายของ “สุตรสถานี” ว่า
คือ
ต้นแบบที่หยาบ ๆ โครงร่างที่หยาบ ๆ หรือโครงร่างที่กำหนดไว้เป็นต้นแบบของเรื่อง หลังจากจบเนื้อหาในส่วนนี้อันเป็นโครงเรื่องคร่าว
ๆ ของเรื่อง สมุทรโฆษคำฉันท์ แล้ว
กวีได้แต่งกาพย์ฉบัง
๑๖ อีก ๑ บท และได้ใช้เรียกโครงร่างดังกล่าวข้างต้นว่า “สุรสัตถาดี”
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร.
๒๕๓๐. วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม ๒. กรุงเทพฯ :
กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์.
ชลดา
เรืองรักษ์ลิขิต. ๒๕๔๒. “สูตรสถานี” ในพระราชนิพนธ์บทละครในเรื่องอิเหนา : การสืบทอด
และการพัฒนาขนบวรรณคดีไทย วารสารภาษาและวรรณคดีไทย ๑๖ ธันวาคม : ๒๖ –
๖๑.
คำบรรยาย
กุสุมา
รักษมณี.
“คำบรรยายนำเสวนาเรื่องคำต่าง ๆ ที่ใช้ในการแต่งคำประพันธ์ไทย”
ศูนย์วิจัยภาษาและวรรณคดีไทย คณะอักษรศาสตร์
จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๖
เวลา ๑๓.๐๐ -
๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุม
๗๐๘ อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
(เธียรดนัย วิเทศพงษ์ ครุฯ ภาษาไทย)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น