วันเสาร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2561

แก่นแท้ของเรื่อง รามเกียรติ์


      แก่นของเรื่องรามเกียรติ์ รามเกียรติ์นั้นเป็นวรรณคดีประจำชาติที่มีเนื้อเรื่องที่ยาว และซับซ้อน โดยทั้งนี้ข้าพเจ้าเกิดความสงสัยในข้อที่ว่า แก่นแท้ของเรื่องราวที่ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดของวรรณคดีไทยเรื่องรามเกียรติ์ที่แท้จริงนั้นมีแก่นที่แท้จริงของเรื่องราวทั้งหมดเป็นอย่างไร ข้าพเจ้าจึงได้เริ่มศึกษาหาคำตอบ แล้วข้าพเจ้าก็ได้พบกับสองแนวคิดที่น่าจะเป็นแก่นที่แท้จริงของเรื่องราวทั้งหมดของวรรณคดีไทยเรื่องรามเกียรติ์ ดังนี้


๑. ท่าน ศาสตราจารย์ คุณหญิง กุหลาบ มัลลิกะมาส 
๒. ท่าน ศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์ ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต
     อันข้าพเจ้าจะได้นำมาเปรียบเทียบดังต่อไปนี้


       ศาสตราจารย์ คุณหญิง กุหลาบ มัลลิกะมาส ท่านได้ให้คำตอบ ของคำถามที่ว่าแก่นที่แท้จริงของวรรณคดีไทยเรื่องรามเกียรติ์ไว้ว่า
       "สารัตถะ หรือแก่นของเรื่อง (theme) เป็นเรื่องที่แสดงถึงการต่อสู้ระหว่าง ฝ่างธรรมะกับฝ่างอธรรม  มีเนื้อเรื่องเป็นรายละเอียดที่แสดงถึงลักษณะการต่อสู้  แม้ในบางครั้งฝ่ายอธรรมะจะมีชัยและข่มฝ่ายถูกต้องได้  แต่ผลขั้นสุดท้ายความดีจะต้องมีชัยเสมอ จึงเท่ากับว่าโดยสารัตถะและโดยเนื่อเรื่องรามเกียรติ์ได้  ให้ต้วอย่าง  ด้านความประพฤติและยังให้ข้อเตือนให้ระมัดระวังตนให้อยู่ในสุจริตธรรมสม่ำเสมอ"

กุหลาบ มัลลิกะมาส (๒๕๓๑, น. ๑๘) 



       ส่วนท่าน ศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์ ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ได้ให้ขอคิดในแก่นของเรื่องที่แท้จริงของวรรณคดีไทยเรื่องรามเกียรติ์ไว้ว่า 
       "แก่นเรื่องในบทละครเรื่องรามเกียรติ์เรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชไม่น่าจะเป็นธรรมะชนะอธรรมอย่างที่เคยเข้าใจกัน เพราะไม่ครอบครุมเนื้อหาคลอดทั้งเรื่อง แต่เป็น "ความหลง" ซึ่งกวีทรงสื่อสารผ่านพฤติกรรมและคำพูดของตัวละครจำนวนมาก รวมทั้งผ่านคำสอนของกวีที่เน้นในกลอนท้ายเรื่องนอกจากนี้ พบว่าแก่นเรื่องนี้มีบทบาทสำคัญทั้งต่อการดำเนินเรื่องและต่อตัวละครด้วย"
ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต (๒๕๖๐, น. ๒๙๓)

           อันพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์     ทรงเพียนตามเรื่องนิยายไสย
       ใช่จะเป็นแก่นสารสิ่งใด     ดั่งพระทัยสมโภชบูชา
   ใครฟังอย่าได้ใหลหลง     จงปลงอนิจังสังขาร์
ซึ่งอักษรกลอนกล่าวลำดับมา     โดยราชปรีชาก็บริบูรณ์

พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (๒๕๔๐, น. ๕๘๒)

       กลอนบทละครสองบทสุดท้ายในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จปร. ที่เป็นบทสรุปของเรื่องราวทั้งหมดของเรื่องรามเกียรติ์ 
       
ส่วนตัวของข้าเจ้านั้นคิดว่าแก่นแท้วรรรคดีไทยเรื่องรามเกียรติ์นั้นเป็นเรื่องที่ผู้เขียนต่องการสื่อผ่านเรื่องราว หรือตัวละครมาให้ผู้อ่านได้รับรู้ผ่านตัวอักษร จึงเป็นหน้าที่ของผู้อ่านที่ต้องอ่านและตีความ วิเคราะห์ และสรุปเป็นแนวคิดหลัก และแก่นที่แท้จริงของเรื่องราวทั้งหมดด้วยความคิดและวิจารณญาณของตัวท่านผู้อ่านต่อไป
       ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านผู้อ่านจะได้ข้อคิด และข้อแตกต่างระหว่างแก่นเรื่องที่แท้จริงของ
เรี์องรามเกียรติ์จะในมุมมองต่างๆ..

(อาจารย์ดำ..)
เธียรดนัย วิเทศพงษ์ ครุฯ ภาษาไทย 
มรภ.บ้านสมเด็จฯ ๕๙๘๑๑๒๔๐๘๑

อ้างอิง

กุหลาบ มัลลิกะมาส. (๒๕๓๑). วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. กรุงเทพฯ: 
      สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปรีชญมณี บทความคัดสรรทางภาษาและวรรณคดีไทยของศาสตราจารย์ ดร. ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต และ         บทสังเคราะห์ผลงานวิจัย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ 
       จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (๒๕๔๐). บทละครเรื่องรามเกียรติ์.(พิมพ์ครั้งที่๙)           กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร กรมศิลปากร

อ้างอิงรูป 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น