วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

สุรสัตถาดี ในสมุทรโฆษคำฉันท์ ๑



     ในสมุทรโฆษคำฉันท์นั้น ได้ปรากฏคำว่า “สุรสัตถาดี” อันน่าจะเป็นคำเรียกที่หมายถึง โครงเรื่อง แบบคร่าว ๆ ที่กวีได้วางไว้ โดยกล่าวกันว่ากวีตั้งใจแต่งเพื่อให้เป็นบทแสดงหนังใหญ่
แม้จะมีกลวิธีนี้มาแล้วในวรรณคดีไทยเรื่องอื่นที่แต่งขึ้นก่อนเรื่องสมุทรโฆษคำฉันท์ แต่ก็มีลักษณะ
บางประการที่แตกต่างกันออกไป อันจะได้กล่าวต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2561

โลกเรียกเป็น ใบ หรือ ดวง




จากการที่ข้าพเจ้าได้ร่วมฟังการเสวนา “ศักราชใหม่ของหนังสือปกแข็งในประเทศไทย” #ครูไหวใจร้ายที่สุดในโลก ในวันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม 2561 ณ หอประชุมใหญ่ หอสมุดแห่งชาติ

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เปรียบเทียบ กำสรวลศรีปราชญ์ / ทวาทศมาส


จากการที่ข้าพเจ้าได้อ่านหนังสือวรรณคดี และวรรณกรรมอยู่หลายเล่มและเกิดประเด็นและข้อสงสังอยู่เป็นจำนวนมากแต่ก็ไม่สามรถหาคำตอบได้เพราะไม่มีผู้ที่ศึกษาค้นคว้าเอาไว้ก่อนหน้า หากแต่ข้าพเจ้าก็พยายามที่จะหาซึ่งคำตอบของคำถามเหล่านั้นอยู่เนือง ๆ ในเวลาว่างซึ่งมีอยู่น้อยนิดของข้าพเจ้า ได้อ่านหนังสือ “ศักดิ์ศรีนิพนธ์” ของ ศ.พิเศษ ดร. ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา ในหนังสือชุด บรมราชกุมารีอักษรานุรักษ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลำดับที่ 10 ก็ได้พบกับแนวคำตอบของปัญหาที่ค้างคาติดอยู่ในใจมานานหลายปีที่ว่า ศรีปราชญ์มีตัวตนจริหรือไม่ และ แต่กำสรวลศรีปราชญ์จริงหรือ หากไม่แต่แล้วใครแต่ ก็ได้บังเอิญอ่านพบเข้าในหนังสือเล่มนี้ อันจะได้กล่าวสรุป และเปรียบเทียบไว้ในลำดับต่อไป

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2561

โคลงสุภาพ



โคลง

โคลง คือคำประพันธ์ชนิดหนึ่งซึ่งมีวิธีเรียบเรียงถ้อยคำเข้าคณะ มีกำหนดเอกโทและสัมผัส แต่มิได้บัญญัติบังคับครุลหุ
โคลง แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ โคลงสุภาพ โคลงดั้น และโคลงโบราณ

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2561

หลักการอ่านทำนองเสนาะ





เสียงเสนาะไพเราะเพียง              ดนตรี
คำเพราะคือคำกระวี                 แต่งไว้
ผู้รู้ท่วงนำนองดี                      ลองอ่าน
ย่อมเสนาะจิตไซร้                   เสนาะล้ำคำหวาน ฯ
                  นันทา ขุนภักดี

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ความสร้างสรรค์ในการแต่งโคลงของสุนทรภู่




       จะกล่าวถึงโคลงสี่สุภาพของสุนทรภู่นั้นมีข้อบังคับการแต่งมากกว่าโคลงสี่สุภาพทั่วไป สุนทรภู่แต่งนิราศสุพรรณโดยใช้โคลงสี่สุภาพมากถึง ๔๖๒ บท มีโคลงกลบทมากถึง ๓๕๔ บท ประกอบด้วยโคลง ๓๐ รูปแบบ รูปแบบโคลงที่สุนทรภู่ชอบแต่งมากที่สุดได้แก่ โคลงแบบ “สพพพ” ซึ่งมีร้อยละ ๕๐ ในเรื่องนิราศสุพรรณนี้ และกล่าวได้ว่าเป็นรูปแบบโคลงในดวงใจของสุนทรภู่

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

พระอภัยมณีได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีหลายเรื่อง


เนื้อหาของพระอภัยมณีได้รับอิทธิพลความคิดมาจากวรรณคดีไทย หลายเรื่อง

เรื่องพระอภัยมณียังมีกลิ่นอายของเรื่องไทย ทำให้ต้องใจคนอ่านคนฟังที่ยังติดในในวรรณคดีไทยแบบดั้งเดิมอยู่ บางแต่มีเหตุการณ์ในเรื่องพระอภัยมณีคล้ายกับเหตุการณ์ที่มีอยู่ในเรื่องลิลิตพระลอ อิเหนา กากี และ ปทกุสลมาณวชาดก