วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2561

โลกเรียกเป็น ใบ หรือ ดวง




จากการที่ข้าพเจ้าได้ร่วมฟังการเสวนา “ศักราชใหม่ของหนังสือปกแข็งในประเทศไทย” #ครูไหวใจร้ายที่สุดในโลก ในวันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม 2561 ณ หอประชุมใหญ่ หอสมุดแห่งชาติ

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เปรียบเทียบ กำสรวลศรีปราชญ์ / ทวาทศมาส


จากการที่ข้าพเจ้าได้อ่านหนังสือวรรณคดี และวรรณกรรมอยู่หลายเล่มและเกิดประเด็นและข้อสงสังอยู่เป็นจำนวนมากแต่ก็ไม่สามรถหาคำตอบได้เพราะไม่มีผู้ที่ศึกษาค้นคว้าเอาไว้ก่อนหน้า หากแต่ข้าพเจ้าก็พยายามที่จะหาซึ่งคำตอบของคำถามเหล่านั้นอยู่เนือง ๆ ในเวลาว่างซึ่งมีอยู่น้อยนิดของข้าพเจ้า ได้อ่านหนังสือ “ศักดิ์ศรีนิพนธ์” ของ ศ.พิเศษ ดร. ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา ในหนังสือชุด บรมราชกุมารีอักษรานุรักษ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลำดับที่ 10 ก็ได้พบกับแนวคำตอบของปัญหาที่ค้างคาติดอยู่ในใจมานานหลายปีที่ว่า ศรีปราชญ์มีตัวตนจริหรือไม่ และ แต่กำสรวลศรีปราชญ์จริงหรือ หากไม่แต่แล้วใครแต่ ก็ได้บังเอิญอ่านพบเข้าในหนังสือเล่มนี้ อันจะได้กล่าวสรุป และเปรียบเทียบไว้ในลำดับต่อไป

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2561

โคลงสุภาพ



โคลง

โคลง คือคำประพันธ์ชนิดหนึ่งซึ่งมีวิธีเรียบเรียงถ้อยคำเข้าคณะ มีกำหนดเอกโทและสัมผัส แต่มิได้บัญญัติบังคับครุลหุ
โคลง แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ โคลงสุภาพ โคลงดั้น และโคลงโบราณ

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2561

หลักการอ่านทำนองเสนาะ





เสียงเสนาะไพเราะเพียง              ดนตรี
คำเพราะคือคำกระวี                 แต่งไว้
ผู้รู้ท่วงนำนองดี                      ลองอ่าน
ย่อมเสนาะจิตไซร้                   เสนาะล้ำคำหวาน ฯ
                  นันทา ขุนภักดี

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ความสร้างสรรค์ในการแต่งโคลงของสุนทรภู่




       จะกล่าวถึงโคลงสี่สุภาพของสุนทรภู่นั้นมีข้อบังคับการแต่งมากกว่าโคลงสี่สุภาพทั่วไป สุนทรภู่แต่งนิราศสุพรรณโดยใช้โคลงสี่สุภาพมากถึง ๔๖๒ บท มีโคลงกลบทมากถึง ๓๕๔ บท ประกอบด้วยโคลง ๓๐ รูปแบบ รูปแบบโคลงที่สุนทรภู่ชอบแต่งมากที่สุดได้แก่ โคลงแบบ “สพพพ” ซึ่งมีร้อยละ ๕๐ ในเรื่องนิราศสุพรรณนี้ และกล่าวได้ว่าเป็นรูปแบบโคลงในดวงใจของสุนทรภู่

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

พระอภัยมณีได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีหลายเรื่อง


เนื้อหาของพระอภัยมณีได้รับอิทธิพลความคิดมาจากวรรณคดีไทย หลายเรื่อง

เรื่องพระอภัยมณียังมีกลิ่นอายของเรื่องไทย ทำให้ต้องใจคนอ่านคนฟังที่ยังติดในในวรรณคดีไทยแบบดั้งเดิมอยู่ บางแต่มีเหตุการณ์ในเรื่องพระอภัยมณีคล้ายกับเหตุการณ์ที่มีอยู่ในเรื่องลิลิตพระลอ อิเหนา กากี และ ปทกุสลมาณวชาดก

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

วิจักษณ์อุปาทวาทศมาส


วิจักษณ์ วิจารณ์ ตีความ..อุปาทวาทศมาส

       การที่ข้าพเจ้าทำเรื่องการ วิจักษณ์ วิจารณ์ ตีความ อุปาทวทศมาสนั้น เนื่องด้วยข้าพเจ้าเห็นว่าวรรณคดีเรื่องนี้เป็นวรรณคดีไทยโบราณที่มีคุณค่าทางวรรณศิลป์ และความงดงามทางภาษา เป็นอย่างมาก แต่เพราะด้วยระยะเวลาที่ห่างกัน ระหว่างยุคสมัยของผู้เขียน และผู้อ่าน จึงยากที่จะศึกษาวรรณคดีเรื่องนี้ ข้าพเจ้าจึงเห็นควรที่จะทำการ วิจักษณ์ วิจารณ์ และ ตีความไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา และค้นคว้าของผู้ใคร่รู้และจะได้สะดวกแก่การศึกษาวรรณคดีเรื่องนี้ต่อไปในอนาคต

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561

เปรียบเทียบ (บทชมดง)


บทความเรื่องการเปรียบเทียบบทคะนึงถึงนางอันเป็นที่รักระหว่างการเดินทาง (ชมดง)
ระหว่างบทละครเรื่อง (รามเกียรติ์) ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุโลกมหาราช กับ บทละครเรื่อง (อิเหนา)
 ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ว่ามีความคล้ายในการใช้โวหารที่ใช้ในการประพันธ์มากน้อยเพียงใด
          อนึ่ง การเลียนแบบโวหารของกวีในอดีตซึ่งถือว่าเป็นโวหารชั้นครู นั้นจะเห็นได้จากวรรณคดีเรื่อง
บทละครเรื่องรามเกียรติ์ กับ บทละครเรื่องอิเหนาที่ข้าพเจ้าจะได้เปรียบเทียบให้เป็นข้อสังเกตดังต่อไปนี้

วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

การศึกษาวรรรคดีไทยในยุค ๔.๐

การศึกษาวรรรคดีไทยในยุค ๔.๐   
    
       เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยว่าการใช้เทคโนโลยีในปัจจุบันนี้เป็นเรื่องที่จำเป็นต่อการดำเดินชีวิตของคนในปัจจุบันนี้เป็นอย่างยิ่ง ทั้งเรื่องการค้าขาย การหาความรักผ่านทางสื่อ หรือทางช่องทางต่างๆไม่เว้นแต่การศึกษาหาความรู้ในเนื้อหาวิชาที่เรียนหรือเนื้อหาวิชาที่สนใจ เพราะในการสือค้นนั้นผ่านทางเทคโนโลยีนั้นมีความสะดวก และรวดเร็วกว่าการสือค้นผ่านทางการเปฺิดหนังสือหรือการเดินเข้าไปหาความรู้ในห้องสมุด หรือแม้แต่ในแวดวงการศึกษาวรรณคดีไทย ที่มีผู้สนใจอยากศึกษาเป็นจำนวนมากแต่ด้วยเนื้อหาและภาษาที่กวีใช้ในการประพันธ์/นิพนธ์ นั้นมีความต่างระหว่างยุกต์สมัยทำให้มีความลำบากในการศึกษาภาาาที่มีความแตกต่างกันในแต่ละยุคสมัย

วันเสาร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2561

แก่นแท้ของเรื่อง รามเกียรติ์


      แก่นของเรื่องรามเกียรติ์ รามเกียรติ์นั้นเป็นวรรณคดีประจำชาติที่มีเนื้อเรื่องที่ยาว และซับซ้อน โดยทั้งนี้ข้าพเจ้าเกิดความสงสัยในข้อที่ว่า แก่นแท้ของเรื่องราวที่ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดของวรรณคดีไทยเรื่องรามเกียรติ์ที่แท้จริงนั้นมีแก่นที่แท้จริงของเรื่องราวทั้งหมดเป็นอย่างไร ข้าพเจ้าจึงได้เริ่มศึกษาหาคำตอบ แล้วข้าพเจ้าก็ได้พบกับสองแนวคิดที่น่าจะเป็นแก่นที่แท้จริงของเรื่องราวทั้งหมดของวรรณคดีไทยเรื่องรามเกียรติ์ ดังนี้

วันเสาร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2561

รามเกียรติ์ ตอน สีดาลุยไฟ (ถอดความ)

      วรรณคดีไทยเรื่องรามเกียรติ์เป็นวรรณคดีประจำชาติที่มีความยาวเป็นอย่างมาก และมีน้อยคนที่จะอ่านได้จนจบครบทั้งเรื่อง เนื่องด้วยมีความยาวมาก และภาษาที่ีใช้ก็เป็นบทร้อยกรองซึ่งคนในปัจจุบันนั้นไม่ค่อยมีความสามารถในการถอดคำประพันธ์ ข้าพเจ้าจึงเห็นควรที่จะได้ถอดความบทละครเรื่องรามเกียรติ์ในตอน นางสีดาลุยไฟ เนื่องจากตอนนี้เป็นตอนท้ายของเรื่องหลังจากที่ทศกัณฐ์ล้มไปแล้ว  จึงมีผู้ที่เข้าศึกษาเรื่องราวในตอนหลังๆนั้นน้อยคน ข้าพเจ้าจึงจะได้เผยแผ่ให้ผู้ใคร่ศึกษาในเรื่องราวของรามเกียรติ์สือต่อไป


วันศุกร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2561

รามเกียรติ์ ตอน จองถนน (ถอดความ)

       วรรรคดีประจำชาติเรื่อง รามเกียติ์ เป็นวรรณคดีที่แสดงถึงรากฐานของวัฒนธรรมอันงดงามประจำชาติและอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งเป็นวรรณคดีที่มีความงดงามทางด้านการใช้ภาษาเป็นอย่างยิ่ง
         รามเกียรติ์ในตอนจองถนนนี้ เป็นตอนที่แสดงถึงเกียรติยศของพระรามที่ ได้ใช้ก้อนหินทั้งน้อยใหญ่ ถมทะเลจนกลายเป็นถนนข้ามไปเมืองลงกา เพื่อรับนางสีดากลับเมืองอยุธยา
       ข้าพเจ้าจึงเห็นสมควรที่จะได้ถอดความบทละครเรื่องรามเกียรติ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในตอนจองถนน จากบทร้อยกรอง ให้เป็นบทร้องแก้วเพื่อความสะดวกในการศึกษาของผู้ใคร่ศึกษาในเรื่องราวของรามเกียรติ์ในรุ่นหลังสืบต่อไป